วันพฤหัสบดีที่ 8 กรกฎาคม พ.ศ. 2553

ภาษีอากร-ภาษีเงินได้บุคคลธรรมดา

ภาษีเงินได้บุคคลธรรมดา


ภาษีเงินได้บุคคลธรรมดา..... คือ ภาษีที่จัดเก็บจากบุคคลทั่วไป หรือจากหน่วยภาษีที่มีลักษณะพิเศษ ตามที่กฎหมายกำหนดและมีรายได้เกิดขึ้นตามเกณฑ์ที่กำหนด

แหล่งเงินได้ทีจะต้องเสียภาษีเงินได้บุคคลธรรมดา

1. เงินได้เกิดจากแหล่งในประเทศ หมายถึง เงินได้ที่เกิดขึ้น หรือเป็นผลสืบเนื่องจากมี
1.1 หน้าที่งานที่ทำในประเทศไทย หรือ
1.2 กิจการที่ทำในประเทศไทย หรือ
1.3 กิจการของนายจ้างในประเทศไทย หรือ
1.4 ทรัพย์สินที่อยู่ในประเทศไทย (ดอกเบี้ย เงินปันผล ค่าเช่า ฯลฯ
* เงื่อนไข ผู้มีเงินได้เกิดจากแหล่งในประเทศนี้มีหน้าที่ต้องเสียภาษีเงินได้ตามที่ประมวลรัษฏากร กำหนดไว้เสมอเว้นแต่จะมีข้อยกเว้นตามกฎหมาย ทั้งนี้ ไม่ว่าเงินได้พึงประเมินในปีภาษีที่ล่วงมาแล้วนั้น จะจ่ายในหรือนอกประเทศ และไม่ว่าผู้มีเงินได้นั้นจะเป็นผู้อยู่ในประเทศไทยหรือไม่ก็ตาม)

2. เงินได้เกิดจากแหล่งนอกประเทศไทย หมายถึง เงินได้ที่เกิดขึ้นหรือเป็นผลสืบเนื่องจากมี
2.1 หน้าที่งานที่ทำในต่างประเทศ หรือ
2.2 กิจการที่ทำในต่างประเทศ หรือ
2.3 ทรัพย์สินที่อยู่ในต่างประเทศ
* เงื่อนไข ผู้มีเงินได้เกิดจากแหล่งนอกประเทศในปีภาษีที่ล่วงมาแล้วจะต้องเสียภาษีเงินได้ ในประเทศไทยก็ต่อเมื่อเข้าองค์ประกอบทั้ง 2 ประการ ดังต่อไปนี้
(1) ผู้มีเงินได้เป็น ผู้อยู่ในประเทศไทย ในปีภาษีนั้นชั่วระยะเวลาหนึ่งหรือหลายระยะเวลา รวมทั้งหมดถึง 180 วัน และ
(2) ผู้มีเงินได้ นำเงินได้นั้นเข้ามาในประเทศไทยในปีภาษีนั้นด้วย

ในการเสียภาษีเงินได้บุคคลธรรมดาบางกรณี ถ้าเกี่ยวข้องกับบุคคลของบางประเทศที่มี อนุสัญญาภาษีซ้อน
* หรือความตกลงเพื่อป้องกันการเก็บภาษีซ้ำซ้อนกับประเทศไทยจำเป็นต้องพิจารณาถึงความ ตกลงหรืออนุสัญญาว่าด้วยการเว้นการเก็บภาษีซ้อนระหว่างประเทศไทยได้ทำความตกลง
ตามกฎหมาย เงินได้ที่ต้องเสียภาษีเงินได้บุคคลธรรมดา เรียกว่า "เงินได้พึงประเมิน”หมายถึง เงินได้ของบุคคลใดๆ หรือหน่วยภาษีใดข้างต้นที่เกิดขึ้นระหว่างวันที่ 1 มกราคม ถึง 31 ธันวาคม ของปีใดๆ หรือเงินได้ ที่เกิดขึ้นในปีภาษี ได้แก่
1. เงิน
2. ทรัพย์สินซึ่งอาจคิดคำนวณได้เป็นเงิน ที่ได้รับจริง ที่ได้รับจริง
3. ประโยชน์ซึ่งอาจคิดคำนวณได้เป็นเงิน (เกณฑ์เงินสด)
4. เงินค่าภาษีอากรที่ผู้จ่ายเงินหรือผู้อื่นออกแทนให้
5. เครดิตภาษีตามที่กฎหมายกำหนด

ผู้ที่มีเงินได้เกิดขึ้นระหว่างปีภาษีจะมีหน้าที่ต้องยื่นแบบฯ ก็ต่อเมื่อมีเงินได้ถึงเกณฑ์ขั้นต่ำตามที่กฎหมายกำหนด ไม่ว่าเมื่อคำนวณภาษีแล้วจะมีภาษีต้องชำระเพิ่มเติมหรือไม่ก็ตาม ดังนี้
1. ผู้มีเงินได้จากการจ้างแรงงานประเภทเงินเดือน ค่าจ้างที่ได้รับในปีภาษีนั้น (ตั้งแต่ 1 มกราคม ถึง 31 ธันวาคม)

- กรณีไม่มีคู่สมรสต้องมีเงินได้พึงประเมินเกิน 50,000 บาท
- กรณีที่มีคู่สมรสไม่ว่าฝ่ายเดียว หรือทั้งสองฝ่ายต้องมีเงินได้พึงประเมินรวมกัน เกิน 100,000 บาท
2. ผู้มีเงินได้จากการทำธุรกิจการค้าทั่วไปที่มิใช่เกิดจากการจ้างแรงงานที่ได้รับในปีภาษีนั้น (ตั้งแต่ 1 มกราคม ถึง 31 ธันวาคม)
- กรณีไม่มีคู่สมรสต้องมีเงินได้พึงประเมินเกิน 30,000 บาท
- กรณีมีคู่สมรสไม่ว่าฝ่ายเดียวหรือทั้งสองฝ่ายต้องมีเงินได้พึงประเมินรวมกัน เกิน 60,000 บาท
3. กองมรดกของผู้ตายที่ยังไม่แบ่งเกิน 30,000 บาท
4. ห้างหุ้นส่วนสามัญหรือคณะบุคคลที่มิใช่นิติบุคคลเกิน 30,000 บาท

ขอขอคุณข้อมูลจาก http://www.rd.go.th/publish/555.0.html

ภาษีอากร-แบบฝึกหัดบทที่ 2

ข้อ 1


วิธีคำนวณหาเงินได้หลังหักค่าใช้จ่ายของ ศรีไศล(ภรรยา)เงินเดือน ม.ค.-ก.ค. (15,000 ×7) = 105,000 บาท
เงินเดือน ส.ค.-ธ.ค.(16,500 × 5) = 82,500 บาท
เงินเดือนทั้งปี = 187,500 บาท
หัก ค่าใช้จ่าย 40% แต่ไม่เกิน 60,000 บาท = 60,000 บาท
เงินได้หลังหักค่าใช้จ่าย (เงินเดือน+ค่าจ้างทำบัญชี) = 127,500 บาท
เงินเดือนถัวเฉลี่ย 12 เดือนสุดท้าย
((15,000×7)+(16,500×5))/2 = 15,625 บาท
เงินเดือนถัวเฉลี่ยบวกร้อยละ 10 = 15,625+(15,625×10%)= 17,187.50 บาท
เงินเดือนถัวเฉลี่ย × ปีทำงาน 17,187.50 × 10 = 171,187.50 บาท
** ให้เปรียบเทียบระหว่างเงินเดือนถัวเฉลี่ยกับเงินได้พึงประเมินที่ได้รับเอาส่วนที่น้อยตั้ง**
เงินค่าใช้จ่ายพึงประเมินที่ได้รับ(เหตุออกจากงาน) = 150.000 บาท
หักค่าใช้จ่ายส่วนที่ 1 =( 7,000 × 10 ) = 70,000 บาท
คงเหลือ = 80,000 บาท
หัก ค่าใช้จ่ายส่วนที่ 2 50% ของส่วนที่เหลือ = 40,000 บาท
(เงินได้พึงประเมินที่ได้รับ) = 150,000 บาท
รวมค่าใช้จ่ายทั้งสองส่วน 70,000+40,000 = 110,000 บาท
เงินได้หลังหักค่าใช้จ่าย(เหตุออกจากงาน) = 40,000 บาท

วิธีคำนวณหาเงินได้หลังหักค่าใช้จ่ายของนายศักดิ์สิทธิ์(สามี)
เงินเดือนทั้ง ปี 16,000 × 12 = 192,000 บาท
ค่านายหน้า = 82,500 บาท
รวมเป็นเงิน = 274,000 บาท
หัก ค่าใช้จ่าย 40% แต่ไม่เกิน 60,000 บาท = 60,000 บาท
เงินได้หลังหักค่าใช้จ่าย (เงินเดือน+ค่านายหน้า) = 214,000 บาท (1)

เงินค่าลิขสิทธิ์ = 55,000 บาท
หัก ค่าใช้จ่าย 40% = 22,000 บาท
คงเหลือเงินได้หลังหักค่าลิขสิทธิ์ = 33,000 บาท (2)

ค่าเช่าบ้าน(1,200× 5× 12) = 72,000 บาท
หัก ค่าใช้จ่าย 30% = 21,000 บาท
คงเหลือเงินได้หลังหักค่าเช่าบ้าน = 50,400 บาท (3)
รวมเงินได้หลังหักค่าใช้จ่ายของศักดิ์สิทธิ์ = 297,400 บาท

ข้อ 2

วิธีคำนวณหาเงินได้หลังหักค่าใช้จ่ายของ นายพงศ์ศักดิ์ (สามี)
เงินเดือนทั้ง ปี 55,000 × 12 = 660,000 บาท
รับจ้าง (650,000-390,000) = 260,000 บาท
(390,000 มาจากรายได้จากการเป็นวิศวกร 650,000 × 60%)
รวมเป็นเงิน = 920,000 บาท
หัก ค่าใช้จ่าย 40% แต่ไม่เกิน 60,000 บาท = 60,000 บาท
เงินได้หลังหักค่าใช้จ่าย (เงินเดือน+ค่านายหน้า) = 860,000 บาท (1)

รายได้จากการเป็นวิศวกร 650,000 × 60% = 390,000 บาท
หัก ค่าใช้จ่าย 30% = 117,000 บาท
เงินได้หลังหักค่าใช้จ่าย(วิศวกร) = 273,000 บาท
เงินได้ของนายพงศ์ศักดิ์หลังหักค่าใช้จ่าย = 1,133,000 บาท

วิธีคำนวณหาเงินได้หลังหักค่าใช้จ่ายของ นางพรศรี (ภรรยา)
รายได้จากการเปิดร้านมินิมาร์ท = 520,000 บาท
หัก ค่าใช้จ่าย 80% = 416,000 บาท
เงินได้หลังหักค่าใช้จ่าย = 104,000 บาท (1)

รายได้จากค่าเช่าบ้าน = 144,000 บาท
หัก ค่าใช้จ่าย 30% = 43,200 บาท
เงินได้หลังหักค่าใช้จ่าย = 100,800 บาท (2)
ดังนั้นเงินได้ของนางพรศรีหลังหักค่าใช้จ่าย (1) + (2)= 204,800 บาท

ข้อ 3
วิธีคำนวณหาเงินได้หลังหักค่าใช้จ่ายของ นางสาวิตรี
รายได้ค่าเช่าที่ดิน 3 ไร่ๆละ 5,000 บาท = (5,000 ×ไร่×เดือน)
(5,000 ×3×10) = 150,000 บาท
หัก ค่าใช้จ่าย 15% = 22,500 บาท
คงเหลือเงินได้หลังหักค่าใช้จ่าย = 127,000 บาท (1)

ขายอสังหาริมทรัพย์ 3 ไร่ๆละ 250,000 บาท = (250,000 ×ไร่)
(250,000 ×3) = 750,000 บาท
ได้รับการยกเว้น = 200,000 บาท
คงเหลือ = 550,000 บาท
หัก ค่าใช้จ่าย 50% = 275,000 บาท
คงเหลือเงินได้หลังหักค่าใช้จ่าย = 275,000 บาท (2)
ดังนั้นเงินได้ของ นางสาวิตรีหลังหักค่าใช้จ่าย (1) + (2)= 402,500 บาท

ข้อ 4
วิธีคำนวณหาเงินได้หลังหักค่าใช้จ่ายของ นายพงศ์ศักดิ์
เงินเดือนทั้ง ปี (20,000 × 12) = 240,000 บาท
ค่าแรง = 350,000 บาท
รวมเป็นเงิน = 590,000 บาท
หัก ค่าใช้จ่าย 40% แต่ไม่เกิน 60,000 บาท = 60,000 บาท
เงินได้หลังหักค่าใช้จ่าย (เงินเดือน+ค่าแรง) = 530,000 บาท (1)

รายได้จากการเป็นวิศวกร = 145,000 บาท
หัก ค่าใช้จ่าย 30% = 43,000 บาท
เงินได้หลังหักค่าใช้จ่าย(วิศวกร) = 101,500 บาท (2)

รายได้จากการรับเหมาก่อสร้าง = (รับเหมาทั้งปี - ค่าแรง)
(1,250,000 – 350,000) = 900,000 บาท
หัก ค่าใช้จ่าย 70% = 630,000 บาท
เงินได้หลังหักค่าใช้จ่าย(รับเหมา) = 270,000 บาท (3)
ดังนั้นเงินได้ของ นางสาวิตรีหลังหักค่าใช้จ่าย (1) + (2)+(3)= 901,500 บาท

ข้อ 5
วิธีคำนวณหาเงินได้หลังหักค่าใช้จ่ายของ นางนุชนาท(ภรรยา)
เงินเดือนก่อนเสียชีวิต (ม.ค.-ก.ย.) 15,000 ×9 = 135,000 บาท
ค่ารับจ้างทำบัญชี(ก่อนเสียชีวิต) = 35,000 บาท
คงเหลือ = 170,000 บาท
หัก ค่าใช้จ่าย 40% แต่ไม่เกิน 60,000 บาท = 60,000 บาท
เงินได้หลังหักค่าใช้จ่าย (เงินเดือน+ค่าจ้างทำบัญชี) = 110,000 บาท
เงินค่าลิขสิทธิ์ = 25,000 บาท
หัก ค่าใช้จ่าย 40% = 10,000 บาท
เงินหลังหักค่าใช้จ่าย(ต้องนำไปรวมกับสามี) = 15,000 บาท (1)

วิธีคำนวณหาเงินได้หลังหักค่าใช้จ่ายของ นายชัยยุทธ์(สามี)
เงินเดือนทั้ง ปี 25,000 × 12 = 300,000 บาท
เงินโบนัส 2.50 × 25.000 = 62,500 บาท
คงเหลือ = 362,500 บาท
หัก ค่าใช้จ่าย 40% แต่ไม่เกิน 60,000 บาท = 60,000 บาท
เงินได้หลังหักค่าใช้จ่าย (เงินเดือน+โบนัส) = 302,500 บาท

เงินพึงประเมินได้รับจากการลาออกจากงาน 650,000 บาท
หัก การใช้จ่ายส่วนที่ 1 (7,000 × 20 ) = 140,000 บาท
คงเหลือ = 510,000 บาท
หัก ค่าใช้จ่ายส่วนที่ 2 50% ของส่วนที่เหลือ = 255,000 บาท
รวมค่าใช้จ่ายทั้งสองส่วน = 395,000 บาท
เงินได้หลังหักค่าใช้จ่าย(เพราะลาออกจากงาน) = 255,000 บาท
รวมเงินได้หลังหักค่าใช้จ่ายของนายชัยยุทธ์ (302,500+255,000) = 557,500 บาท (2)
**ดังนั้นเงินได้นอกจากเงินเดือนและค่าจ้างของภรรยาจะต้องนำมารวมกับของสามี
เงินได้หลังหักค่าใช้จ่ายของ นายชัยยุทธ์ จะเท่ากับ (1)+(2) = 572,500 บาท
เงินได้หลังหักค่าใช้จ่ายของ นางนุชนาท = 110,000 บาท

วันพุธที่ 2 มิถุนายน พ.ศ. 2553

วิธีพิจารณาคดีผู้บริโภค

พระราชบัญญัติ วิธีพิจารณาคดีผู้บริโภค พ.ศ. 2551
มาตรา 20 การฟ้องร้องคดีผู้บริโภค โจทย์จะฟ้องด้วยวาจาหรือเป็นหนังสือก็ได้ ในกรณีที่โจทย์ประสงค์จะฟ้องด้วยวาจา ให้เจ้าพนักงานคดีจัดให้มีการบันทึกรายละเอียดแห่งคำฟ้องแล้วให้โจทย์ลงลายมือชื่อไว้เป็นสำคัญ
           คำฟ้องต้องมีข้อเท็จจริงที่เป็นเหตุแห่งการฟ้องร้องคดีรวมทั้งคำขอบังคับชัดเจนที่จะทำให้เข้าใจได้ หากศาลเห็นว่าคำฟ้องนั้นไม่ถูกต้องหรือขาดสาระสำคัญบางเรื่อง ศาลอาจมีคำสั่งให้โจทก์ลงลายมือชื่อไว้เป็นสำคัญ

หลักกฎหมายคุ้มครองผู้บริโภค (พ.ร.บ.คุ้มครองผู้บริโภค พ.ศ.2522 )

มาตรา 3 ในพระราชบัญญัตินี้
               ซื้อ หมายความรวมถึง เช่า เช่าซื้อ หรือได้มาด้วยประการใดๆโดยให้ค่าตอบแทนเป็นเงินหรือผลประโยชน์อย่างอื่น
               ขาย หมายความรวมถึง ให้เช่า ให้เช่าซื้อ หรือจัดหาให้ไม่ว่าด้วยประการใดๆ โดยเรียกค่าตอบแทนเป็นเงินหรือผลประโยชน์อย่างอืน ตลอดจนการเสนอหรือการชักชวนเพื่อการดังกล่าวด้วย
               สินค้า หมายความว่า สิ่งของที่ผลิตหรือมีไว้เพื่อขาย
               บริการ หมายความว่า การรับจัดทำการงาน การให้สิทธิใดๆ หรือการให้ใช้หรือให้ประโยชน์ในทรัพย์สินหรือกิจการใดๆ โดยเรียกค่าตอบแทนเป็นเงินหรือผลประโยชน์อื่นแต่ไม่รวมถึงการจ้างแรงงานตามกฎหมายแรงาน
               ผลิต หมายความว่า ทำ ผสม ปรุง ประกอบ ประดิษฐ์ หรืแปรสภาพ และหมายความรวมถึง การเปลี่ยนรูป การดัดแปลง การคัดเลือก หรือการบรรจุ
               ผู้บริโภค หมายความว่า ผู้ซื้อหรือผู้ได้รับบริการจากผู้ประกอบธุรกิจหรือผู้ซึ่งได้รับการเสนอหรือการชักชวนจากผู้ประกอบธุรกิจเพื่อให้ซื้อสินค้าหรือรับบริการ และหมายความรวมถึงผู้ใช้สินค้าหรือผู้ได้รับบริการจากผู้ประกอบธูรกิจโดยชอบ แม้มิได้เป็นผู้เสียค่าตอบแทนก็ตาม
               ผู้ประกอบธุรกิจ หมายความว่า ผู้ขาย ผู้ผลิตเพื่อขาย ผู้สั่งหรือผู้นำเข้าในราชอาณาจักรเพื่อขายหรือผู้ซื้อเพื่อขายต่อซึ่งสินค้า หรือผู้ให้บริการ และหมายความรวมถึงผู้ประกอบกิจการโฆษณาด้วย
              ข้อความ หมายความรวมถึง การกระทำให้ปรากฎตัวอักษร ภาพ ภาพยนต์ แสง เสียง เครื่องหมายหรือการกระทำอย่างใดๆที่ทำให้บุคคลทั่วไปสามารถเข้าใจความหมายได้
              โฆษณา หมายความรวมถึง การกระทำการไม่ว่าโดยวิธีใดๆให้ประชาชนเห็นหรือทราบข้อความเพื่อประโยชน์ในทางการค้า
              สื่อโฆษณา หมายความว่า สิ่งที่ใช้เป็นสื่อในการโฆษณา เช่นหนังสือพิมพ์ สิ่งพิมพ์ วิทยุกระจายเสียง วิทยุโทรทัศน์ ไปรษณีย์โทรเลข โทรศัพย์หรือป้าย
              ฉลาก หมายความว่า รูป รอยประดิษฐ์ กระดาษหรือสิ่งอื่นใดที่ทำให้ปรากฎข้อความที่เกี่ยวกับสินค้าซึ่งแสดงไว้ที่สินค้าหรือภาชนะบรรจุหรือหีบห่อบรรจุสินค้า หรือสอดแทรกหรือรวมไว้กับสินค้าหรือภาชนะหรือหีบห่อบรรจุสินค้า และหมายความรวมถึงเอกสารหรือคู่มือสำหรับใช้ประกอบสินค้า ป้ายที่ติดตั้งหรือแสดงไว้ที่สินค้าหรือภาชนะบรรจุหรือหีบห่อบรรจุสินค้านั้น
             สัญญา หมายความว่า การตกลงกันระหว่างผู้บริโภคและผู้ประกอบธุรกิจเพื่อซื้อและขายสินค้าหรือให้และรับบริการ
              คณะกรรมการ หมายความว่า คณะกรรมการคุ้มครองผ้บริโภค
              กรรมการ หมายความว่า กรรมการคุ้มครองผู้บริโภค
              พนักงานเจ้าหน้าที่ หมายความว่า ผู้ซึ่งรัฐมนตรีแต่งตั้งให้ปฏิบัติตามพระราชบัญญัตินี้
              รัฐมนตรี หมายความว่า รัฐมนตรีผู้รักษาการตามพระราชบัญญัตินี้

มาตรา4 ผู้บริโภคมีสิทธิได้รับความคุ้มครองดังต่อไปนี้
             (1) สิทธิที่จะได้รับข่าวสารรวมทั้งคำพรรณนาคุณภาพที่ถูกต้องและเพียงพอเกี่ยวกับสินค้าหรือบริการ
             (2) สิทธิที่จะมีอิสระในการเลือกหาสินค้าหรือบริการ
             (3) สิทธิที่จะได้รับความปลอดภัยจากการใช้สินค้าและบริการ
             (4) สิทธิที่จะได้รับความเป็นธรรมในสัญญา
             (5) สิทธิที่จะได้รับการพิจารณาและชดเชยความเสียหาย 

วันจันทร์ที่ 31 พฤษภาคม พ.ศ. 2553

วันพฤหัสบดีที่ 20 พฤษภาคม พ.ศ. 2553

กฎหมายทรัพย์สินทางปัญญา

           ทรัพย์สินทางปัญญา หมายถึง ผลงานอันเกิดจากความคิดสร้างสรรค์ของมนุษย์
ทรัพย์สินทางปัญญา ได้แก่ กรณีที่กฎหมายคุ้มครองสิทธิในการสร้างสรรค์การประดิษฐ์หรือการคิดค้นสิ่งใหม่ๆ มีด้วยกัน 3 ประเภท คือ
1. ลิขสิทธิ์
2. สิทธิบัตร
3. เครื่องหมายการค้า

ลิขสิทธิ์
    ลิขสิทธิ์ หมายความว่า สิทธิแต่ผู้เดียวที่จะกระทำการใดๆเกี่ยวกับงาน ที่ผู้สร้างสรรค์ได้ทำขึ้น
    กฎหมายลิขสิทธิ์มุ่งคุ้มครองงานที่บุคคลได้สร้างสรรค์ขึ้นด้วยตัวเอง ไม่ให้ใครลอก หรือเลียนแบบ เอาไว้ใช้ประโยชน์เพื่อให้ ผู้สร้างสรรค์
   งานที่ได้รับการคุ้มครอง
    1. งานวรรณกรรม
    2. งานนาฏกรรม
    3. งานศิลปกรรม
    4. งานดนตรีกรรม
    5. งานโสตทัศนวัสดุ งานภาพยนตร์ งานแพร่เสียงแพร่ภาพ
    6. งานสิ่งบันทึกเสียง
    7. งานนักแสดง

ผู้มีลิขสิทธิ์
   1. ผู้รับโอนลิขสิทธิ์
   2. ผู้ว่าจ้างในสัญญาจ้างทำของ
   3. ลูกจ้างในสัญญจ้างแรงงาน
   4. กระทรวง ทบวง กรม หรือหน่วยงานอื่นใดของรัฐหรือของท้องถิ่น

การคุ้มครองสิทธิ์
   งานสร้างสรรค์ใดมีลิขสิทธิ์ตามพระราชบัญญัติลิขสิทธิ์ ผู้สร้างสรรค์หรือผู้มีลิขสิทธิ์นั้นย่อมมีสิทธิ์แต่ผู้เดียวในการ
    1. ทำซ้ำหรือดัดแปลง
    2. เผยแพราต่อสาธารณชน
    3. ให้เช่าต้นฉบับ หรือสำเนางานโปรแกรมคอมฯ โสตทัศน์วัสดุ ภาพยนต์และสิ่งบันทึกเสียง
    4. ให้ประโยชน์อันเกิดจากลิขสิทธิ์แก่ผู้อื่น
    5. อนุญาตให้ผู้อื่นใช้สิทธิตาม 1 หรือ 2 หรือ 3 โดยกำหนดเงื่นไขอย่างหนึ่งอย่างใดด้วยหรือไม่ก็ได้

การละเมิดสิทธิ์
     ในเรื่องการคุ้มครองลิขสิทธ์ กฎหมายอนุญาตให้ผู้มีลิขสิทธิ์แต่เพียงผู้เดียวมีสิทธิ ที่จะทำซ้ำ ดัดแปลงหรือเผยแพร่ต่อสาธารณชน เพราะฉนั้นหากบุคคลใดที่ไม่มีลิขสิทธิ์และไม่ได้รับอนุญาตการทำการดังกล่าว ให้ถือว่าการกระทำนั้นเป็นการละเมิดลิขสิทธิ์

ข้อยกเว้นของการละเมิดลิขสิทธิ์
1. งานอันไม่อาจมีลิขสิทธิ์
    - ข่าวประจำวันและข้อเท็จจริงต่างๆ
    - รัฐธรรมนูญ กฎหมาย
    - ระเบียบ ข้อบังคับ ประกาศ คำสั่ง คำชี้แจง และหนังสือตอบโต้ของกระทรวง ทบวง กรม หรือหน่วยงานอื่นใดของรัฐหรือของท้องถิ่น
    - คำพิพากษา คำสั่ง คำวินิจฉัย และรายงานทางราชการ
    - คำแปล การรวบรวมสิ่งต่างๆ ตามที่กล่าวมาแล้วข้างต้น
2. การกระทำที่ถือว่าเป็นข้อยกเว้นของการละเมิดลิสิทธิ์
    - การกระทำเพื่อประโยชน์ทางการศึกษามิใช่หากำไร
    - การกระทำเพื่อใช้งานส่วนตัว
    - การกระทำซ้ำเพื่อประโยชน์ของราชการ
    - การกระทำโดยรับรู้ความเป็นเจ้าของลิขสิทธิ์ของผู้อื่น

สิทธิบัตร
      สิทธิบัตร หมายความว่า หนังสือสำคัญที่ออกให้เพื่อคุ้มครองการประดิษฐ์หรือออกแบบผลิตภัณฑ์ตามกฎหมายกำหนด

สิทธิบัตรการประดิษฐ์
    การประดิษฐ์ หมายความว่า การคิดค้นหรือการคิดทำขึ้น อันเป็นผลได้มาซึ่งผลิตภัณฑ์ หรือกรรมวิธีใหม่ หรือการกระทำใดๆที่ทำให้ดีขึ้น ซึ่งผลิตภัณฑ์และกรรมวิธี
     การประดิษฐ์ที่จะได้รับการคุ้มครองตามกฎหมาย
     1. การประดิษฐ์คิดค้นขึ้นใหม่
     2. การประดิษฐ์ที่มีขั้นตอนการประดิษฐ์สูงขึ้น
     3. การประดิษบ์ที่สามารถประยุกต์ใช้ในทางอุตสาหกรรม

การประดิษฐ์ที่ขอรับสิทธิบัตรไม่ได้
     1. อาหาร เครื่องดื่มหรือยา หรือสิ่งผสมของยา
     2. เครื่องจักรที่ใช้ในเกษตรกรรมโดยตรง
     3.  สัตว์ พืช หรือกรรมวิธีทางชีววิทยาในการผลิตสัตว์และพืชขึ้น
     4. กฎเกณฑ์และทฤษฎีทางวิทยาศาสตร์และคณิตศาสตร์
     5. ระบบข้อมูลสำหรับการทำงานของเครื่องคอมพิวเตอร์
     6. การประดิษฐ์ที่ขัดต่อความสงบเรียบร้อยศีลธรรมอันดี อนามัย สวัสดิภาพของประชาชน
     7. การประดิษฐ์ที่กำหนดโดยพระราชกฤษฎีกา

ผู้ทรงสิทธิบัตรการประดิษฐ์
     ผู้ทรงสิทธิบัตรการประดิษฐ์ ได้แก่ผู้ได้รับการจดชื่อลงในทะเบียนสิทธิบัตรในขณะที่ออกกสิทธิบัตร หรืออาจกล่าวได้ว่าเป็นผู้ได้รับสิทธิหรือเจ้าของสิทธิบัตรนั้น ได้แก่
     1. ผู้ประดิษฐ์
     2. ผู้รับโอนสิทธิบัตร
     3. นายจ้างของผู้ประดิษฐ์
     4. ส่วนราชการหรือรัฐวิสาหกิจ

การละเมิดสิทธิบัตรการประดิษฐ์
     ผู้รงสิทธิบัตรตามกฎหมายเท่านั้นที่เป็นผู้มีสิทธิใช้หรือแสวงหาประโยชน์จากการประดิษฐ์นั้น คือ
    1. ผลิต ผลิตภัณฑ์ตามสิทธิบัตร
    2. ใช้กรมวิธีตามสิทธิบัตร และ
    3. ขายหรือมีไว้เพื่อขายผลิตภณฑ์ที่ผลิตหรือใช้กรรมวิธีตามสิทธิบัตร
       หากผู้กระทำการดังกล่าวไม่ใช่ผู้ทรงสิทธิย่อมเป็นการละเมิดสิทธิบัตรมีโทษอาญาตามกฎหมาย และอาจถูกเรียกร้องค่าเสียหายได้

เครื่องหมายการค้า
       เครื่องหมายการค้า หมานความว่า เครื่องหมายที่ใช้หรือจะใช้เป็นที่หมายหรือเกี่ยวข้องกับสินค้า เพื่อแสดงว่าสินค้าที่ใช้เครื่องหมายของเจ้าของเครื่องหมายนั้นแตกต่างกับสินค้าที่ใช้เครื่องหมายการค้าของบุคคลอื่น
       เครื่องหมายการค้าต้องมีลักษณะ
    - ต้องเป็นเครื่องหมาย
    - ต้องใช้หรือจะใช้เป็นที่หมายหรือเกี่ยวข้องกับสินค้า
    - เพื่อแสดงว่าสินค้านั้นๆแตกต่างกับสินค้าที่ใช้เครื่องหมายการค้าของผู้อื่น

เครื่องหมายการค้าที่จดทะเบียนได้
       ต้องมีลักษณะตามที่กฎหมายกำหนดไว้ดังนี้
    1. เครื่องหมายการค้านั้นต้องมีลักษณะบ่งเฉพาะ
        ลักษณะบ่งเฉพาะอันเป็นสาระสำคัญที่จะต้องมีในเครื่องหมายการค้านี้
        - ชื่อตัว ชื่อสกุลของบุคคลธรรมดาที่ไม่เป็นชื่อสกุล
        - คำหรือข้อความ อันไม่ได้เห็นถึงลักษณะ  หรือคุณสมบัตรของสินค้านั้นโดยตรง
        - ตัวหนังสือ ตัวเลข หรือคำที่ประดิษฐ์ขึ้น
        - ลายมือชื่อของผู้จดทะเบียน
        -ภาพของผู้ขอจดทะเบียน
        - ภาพที่ประดิษฐ์ขึ้น
    2. เครื่องหมายการค้านั้นจะต้องไม่มีลักษณะต้องห้ามตามกฎหมาย
        - ตราแผ่นดิน เครืองหมายราชการ ธงพระอิสยศ ธงราชการ หรือธงชาติของประเทศไทย
        - เครื่องหมายประจำชาติหรือธงชาติของรัฐต่างประเทศ
        - พระปรมาภิไธย พระนามาภิไธย พระปรมาภิไธยย่อ หรือพระนามาภิไธยย่อ
        - พระบรมฉายาลักษณ์ หรือพระบรมสาทิสลักษณ์ของพระมหากษัตริย์ พระราชินี หรือรัชทายาท
        - พระราชลัญจกร
        - เครื่องหมายกาชาด นามกาชาด หรือกาเจนีวา
        - เครื่องหมายที่เหมือนหรือคล้ายกับเหรียญ ใบสำคัญ หรือหนังสือรัรอง ฯลฯ
        - เครื่องหมายที่ขัดต่อความสงบเรียบร้อย ศีลธรรมอันดีของประชาชน หรือรัฐประกาศนโยบาย
        - เครื่องหมายที่เหมือนกับเครื่องหมายที่มีชื่อเสียงแพร่หลายทั่วไป หรือคล้ายกับเครื่องหมายดังกล่าวจนอาจทำให้สาธารณชนสับสนหลงผิดในความเป็นเจ้าของ หรือแหล่งกำเนิดของสินค้า
        -  เครื่องหมายอื่นที่รัฐมนตรีประกาศกำหนด
    3. เครื่องหมายการค้านั้นต้องไม่เหมือน หรือคล้ายกับเครื่องหมายการค้าของผู้อื่นที่ได้จดทะเบียนไว้แล้ว

ผู้ติดตาม