วันพฤหัสบดีที่ 8 กรกฎาคม พ.ศ. 2553

ภาษีอากร-ภาษีเงินได้บุคคลธรรมดา

ภาษีเงินได้บุคคลธรรมดา


ภาษีเงินได้บุคคลธรรมดา..... คือ ภาษีที่จัดเก็บจากบุคคลทั่วไป หรือจากหน่วยภาษีที่มีลักษณะพิเศษ ตามที่กฎหมายกำหนดและมีรายได้เกิดขึ้นตามเกณฑ์ที่กำหนด

แหล่งเงินได้ทีจะต้องเสียภาษีเงินได้บุคคลธรรมดา

1. เงินได้เกิดจากแหล่งในประเทศ หมายถึง เงินได้ที่เกิดขึ้น หรือเป็นผลสืบเนื่องจากมี
1.1 หน้าที่งานที่ทำในประเทศไทย หรือ
1.2 กิจการที่ทำในประเทศไทย หรือ
1.3 กิจการของนายจ้างในประเทศไทย หรือ
1.4 ทรัพย์สินที่อยู่ในประเทศไทย (ดอกเบี้ย เงินปันผล ค่าเช่า ฯลฯ
* เงื่อนไข ผู้มีเงินได้เกิดจากแหล่งในประเทศนี้มีหน้าที่ต้องเสียภาษีเงินได้ตามที่ประมวลรัษฏากร กำหนดไว้เสมอเว้นแต่จะมีข้อยกเว้นตามกฎหมาย ทั้งนี้ ไม่ว่าเงินได้พึงประเมินในปีภาษีที่ล่วงมาแล้วนั้น จะจ่ายในหรือนอกประเทศ และไม่ว่าผู้มีเงินได้นั้นจะเป็นผู้อยู่ในประเทศไทยหรือไม่ก็ตาม)

2. เงินได้เกิดจากแหล่งนอกประเทศไทย หมายถึง เงินได้ที่เกิดขึ้นหรือเป็นผลสืบเนื่องจากมี
2.1 หน้าที่งานที่ทำในต่างประเทศ หรือ
2.2 กิจการที่ทำในต่างประเทศ หรือ
2.3 ทรัพย์สินที่อยู่ในต่างประเทศ
* เงื่อนไข ผู้มีเงินได้เกิดจากแหล่งนอกประเทศในปีภาษีที่ล่วงมาแล้วจะต้องเสียภาษีเงินได้ ในประเทศไทยก็ต่อเมื่อเข้าองค์ประกอบทั้ง 2 ประการ ดังต่อไปนี้
(1) ผู้มีเงินได้เป็น ผู้อยู่ในประเทศไทย ในปีภาษีนั้นชั่วระยะเวลาหนึ่งหรือหลายระยะเวลา รวมทั้งหมดถึง 180 วัน และ
(2) ผู้มีเงินได้ นำเงินได้นั้นเข้ามาในประเทศไทยในปีภาษีนั้นด้วย

ในการเสียภาษีเงินได้บุคคลธรรมดาบางกรณี ถ้าเกี่ยวข้องกับบุคคลของบางประเทศที่มี อนุสัญญาภาษีซ้อน
* หรือความตกลงเพื่อป้องกันการเก็บภาษีซ้ำซ้อนกับประเทศไทยจำเป็นต้องพิจารณาถึงความ ตกลงหรืออนุสัญญาว่าด้วยการเว้นการเก็บภาษีซ้อนระหว่างประเทศไทยได้ทำความตกลง
ตามกฎหมาย เงินได้ที่ต้องเสียภาษีเงินได้บุคคลธรรมดา เรียกว่า "เงินได้พึงประเมิน”หมายถึง เงินได้ของบุคคลใดๆ หรือหน่วยภาษีใดข้างต้นที่เกิดขึ้นระหว่างวันที่ 1 มกราคม ถึง 31 ธันวาคม ของปีใดๆ หรือเงินได้ ที่เกิดขึ้นในปีภาษี ได้แก่
1. เงิน
2. ทรัพย์สินซึ่งอาจคิดคำนวณได้เป็นเงิน ที่ได้รับจริง ที่ได้รับจริง
3. ประโยชน์ซึ่งอาจคิดคำนวณได้เป็นเงิน (เกณฑ์เงินสด)
4. เงินค่าภาษีอากรที่ผู้จ่ายเงินหรือผู้อื่นออกแทนให้
5. เครดิตภาษีตามที่กฎหมายกำหนด

ผู้ที่มีเงินได้เกิดขึ้นระหว่างปีภาษีจะมีหน้าที่ต้องยื่นแบบฯ ก็ต่อเมื่อมีเงินได้ถึงเกณฑ์ขั้นต่ำตามที่กฎหมายกำหนด ไม่ว่าเมื่อคำนวณภาษีแล้วจะมีภาษีต้องชำระเพิ่มเติมหรือไม่ก็ตาม ดังนี้
1. ผู้มีเงินได้จากการจ้างแรงงานประเภทเงินเดือน ค่าจ้างที่ได้รับในปีภาษีนั้น (ตั้งแต่ 1 มกราคม ถึง 31 ธันวาคม)

- กรณีไม่มีคู่สมรสต้องมีเงินได้พึงประเมินเกิน 50,000 บาท
- กรณีที่มีคู่สมรสไม่ว่าฝ่ายเดียว หรือทั้งสองฝ่ายต้องมีเงินได้พึงประเมินรวมกัน เกิน 100,000 บาท
2. ผู้มีเงินได้จากการทำธุรกิจการค้าทั่วไปที่มิใช่เกิดจากการจ้างแรงงานที่ได้รับในปีภาษีนั้น (ตั้งแต่ 1 มกราคม ถึง 31 ธันวาคม)
- กรณีไม่มีคู่สมรสต้องมีเงินได้พึงประเมินเกิน 30,000 บาท
- กรณีมีคู่สมรสไม่ว่าฝ่ายเดียวหรือทั้งสองฝ่ายต้องมีเงินได้พึงประเมินรวมกัน เกิน 60,000 บาท
3. กองมรดกของผู้ตายที่ยังไม่แบ่งเกิน 30,000 บาท
4. ห้างหุ้นส่วนสามัญหรือคณะบุคคลที่มิใช่นิติบุคคลเกิน 30,000 บาท

ขอขอคุณข้อมูลจาก http://www.rd.go.th/publish/555.0.html

ภาษีอากร-แบบฝึกหัดบทที่ 2

ข้อ 1


วิธีคำนวณหาเงินได้หลังหักค่าใช้จ่ายของ ศรีไศล(ภรรยา)เงินเดือน ม.ค.-ก.ค. (15,000 ×7) = 105,000 บาท
เงินเดือน ส.ค.-ธ.ค.(16,500 × 5) = 82,500 บาท
เงินเดือนทั้งปี = 187,500 บาท
หัก ค่าใช้จ่าย 40% แต่ไม่เกิน 60,000 บาท = 60,000 บาท
เงินได้หลังหักค่าใช้จ่าย (เงินเดือน+ค่าจ้างทำบัญชี) = 127,500 บาท
เงินเดือนถัวเฉลี่ย 12 เดือนสุดท้าย
((15,000×7)+(16,500×5))/2 = 15,625 บาท
เงินเดือนถัวเฉลี่ยบวกร้อยละ 10 = 15,625+(15,625×10%)= 17,187.50 บาท
เงินเดือนถัวเฉลี่ย × ปีทำงาน 17,187.50 × 10 = 171,187.50 บาท
** ให้เปรียบเทียบระหว่างเงินเดือนถัวเฉลี่ยกับเงินได้พึงประเมินที่ได้รับเอาส่วนที่น้อยตั้ง**
เงินค่าใช้จ่ายพึงประเมินที่ได้รับ(เหตุออกจากงาน) = 150.000 บาท
หักค่าใช้จ่ายส่วนที่ 1 =( 7,000 × 10 ) = 70,000 บาท
คงเหลือ = 80,000 บาท
หัก ค่าใช้จ่ายส่วนที่ 2 50% ของส่วนที่เหลือ = 40,000 บาท
(เงินได้พึงประเมินที่ได้รับ) = 150,000 บาท
รวมค่าใช้จ่ายทั้งสองส่วน 70,000+40,000 = 110,000 บาท
เงินได้หลังหักค่าใช้จ่าย(เหตุออกจากงาน) = 40,000 บาท

วิธีคำนวณหาเงินได้หลังหักค่าใช้จ่ายของนายศักดิ์สิทธิ์(สามี)
เงินเดือนทั้ง ปี 16,000 × 12 = 192,000 บาท
ค่านายหน้า = 82,500 บาท
รวมเป็นเงิน = 274,000 บาท
หัก ค่าใช้จ่าย 40% แต่ไม่เกิน 60,000 บาท = 60,000 บาท
เงินได้หลังหักค่าใช้จ่าย (เงินเดือน+ค่านายหน้า) = 214,000 บาท (1)

เงินค่าลิขสิทธิ์ = 55,000 บาท
หัก ค่าใช้จ่าย 40% = 22,000 บาท
คงเหลือเงินได้หลังหักค่าลิขสิทธิ์ = 33,000 บาท (2)

ค่าเช่าบ้าน(1,200× 5× 12) = 72,000 บาท
หัก ค่าใช้จ่าย 30% = 21,000 บาท
คงเหลือเงินได้หลังหักค่าเช่าบ้าน = 50,400 บาท (3)
รวมเงินได้หลังหักค่าใช้จ่ายของศักดิ์สิทธิ์ = 297,400 บาท

ข้อ 2

วิธีคำนวณหาเงินได้หลังหักค่าใช้จ่ายของ นายพงศ์ศักดิ์ (สามี)
เงินเดือนทั้ง ปี 55,000 × 12 = 660,000 บาท
รับจ้าง (650,000-390,000) = 260,000 บาท
(390,000 มาจากรายได้จากการเป็นวิศวกร 650,000 × 60%)
รวมเป็นเงิน = 920,000 บาท
หัก ค่าใช้จ่าย 40% แต่ไม่เกิน 60,000 บาท = 60,000 บาท
เงินได้หลังหักค่าใช้จ่าย (เงินเดือน+ค่านายหน้า) = 860,000 บาท (1)

รายได้จากการเป็นวิศวกร 650,000 × 60% = 390,000 บาท
หัก ค่าใช้จ่าย 30% = 117,000 บาท
เงินได้หลังหักค่าใช้จ่าย(วิศวกร) = 273,000 บาท
เงินได้ของนายพงศ์ศักดิ์หลังหักค่าใช้จ่าย = 1,133,000 บาท

วิธีคำนวณหาเงินได้หลังหักค่าใช้จ่ายของ นางพรศรี (ภรรยา)
รายได้จากการเปิดร้านมินิมาร์ท = 520,000 บาท
หัก ค่าใช้จ่าย 80% = 416,000 บาท
เงินได้หลังหักค่าใช้จ่าย = 104,000 บาท (1)

รายได้จากค่าเช่าบ้าน = 144,000 บาท
หัก ค่าใช้จ่าย 30% = 43,200 บาท
เงินได้หลังหักค่าใช้จ่าย = 100,800 บาท (2)
ดังนั้นเงินได้ของนางพรศรีหลังหักค่าใช้จ่าย (1) + (2)= 204,800 บาท

ข้อ 3
วิธีคำนวณหาเงินได้หลังหักค่าใช้จ่ายของ นางสาวิตรี
รายได้ค่าเช่าที่ดิน 3 ไร่ๆละ 5,000 บาท = (5,000 ×ไร่×เดือน)
(5,000 ×3×10) = 150,000 บาท
หัก ค่าใช้จ่าย 15% = 22,500 บาท
คงเหลือเงินได้หลังหักค่าใช้จ่าย = 127,000 บาท (1)

ขายอสังหาริมทรัพย์ 3 ไร่ๆละ 250,000 บาท = (250,000 ×ไร่)
(250,000 ×3) = 750,000 บาท
ได้รับการยกเว้น = 200,000 บาท
คงเหลือ = 550,000 บาท
หัก ค่าใช้จ่าย 50% = 275,000 บาท
คงเหลือเงินได้หลังหักค่าใช้จ่าย = 275,000 บาท (2)
ดังนั้นเงินได้ของ นางสาวิตรีหลังหักค่าใช้จ่าย (1) + (2)= 402,500 บาท

ข้อ 4
วิธีคำนวณหาเงินได้หลังหักค่าใช้จ่ายของ นายพงศ์ศักดิ์
เงินเดือนทั้ง ปี (20,000 × 12) = 240,000 บาท
ค่าแรง = 350,000 บาท
รวมเป็นเงิน = 590,000 บาท
หัก ค่าใช้จ่าย 40% แต่ไม่เกิน 60,000 บาท = 60,000 บาท
เงินได้หลังหักค่าใช้จ่าย (เงินเดือน+ค่าแรง) = 530,000 บาท (1)

รายได้จากการเป็นวิศวกร = 145,000 บาท
หัก ค่าใช้จ่าย 30% = 43,000 บาท
เงินได้หลังหักค่าใช้จ่าย(วิศวกร) = 101,500 บาท (2)

รายได้จากการรับเหมาก่อสร้าง = (รับเหมาทั้งปี - ค่าแรง)
(1,250,000 – 350,000) = 900,000 บาท
หัก ค่าใช้จ่าย 70% = 630,000 บาท
เงินได้หลังหักค่าใช้จ่าย(รับเหมา) = 270,000 บาท (3)
ดังนั้นเงินได้ของ นางสาวิตรีหลังหักค่าใช้จ่าย (1) + (2)+(3)= 901,500 บาท

ข้อ 5
วิธีคำนวณหาเงินได้หลังหักค่าใช้จ่ายของ นางนุชนาท(ภรรยา)
เงินเดือนก่อนเสียชีวิต (ม.ค.-ก.ย.) 15,000 ×9 = 135,000 บาท
ค่ารับจ้างทำบัญชี(ก่อนเสียชีวิต) = 35,000 บาท
คงเหลือ = 170,000 บาท
หัก ค่าใช้จ่าย 40% แต่ไม่เกิน 60,000 บาท = 60,000 บาท
เงินได้หลังหักค่าใช้จ่าย (เงินเดือน+ค่าจ้างทำบัญชี) = 110,000 บาท
เงินค่าลิขสิทธิ์ = 25,000 บาท
หัก ค่าใช้จ่าย 40% = 10,000 บาท
เงินหลังหักค่าใช้จ่าย(ต้องนำไปรวมกับสามี) = 15,000 บาท (1)

วิธีคำนวณหาเงินได้หลังหักค่าใช้จ่ายของ นายชัยยุทธ์(สามี)
เงินเดือนทั้ง ปี 25,000 × 12 = 300,000 บาท
เงินโบนัส 2.50 × 25.000 = 62,500 บาท
คงเหลือ = 362,500 บาท
หัก ค่าใช้จ่าย 40% แต่ไม่เกิน 60,000 บาท = 60,000 บาท
เงินได้หลังหักค่าใช้จ่าย (เงินเดือน+โบนัส) = 302,500 บาท

เงินพึงประเมินได้รับจากการลาออกจากงาน 650,000 บาท
หัก การใช้จ่ายส่วนที่ 1 (7,000 × 20 ) = 140,000 บาท
คงเหลือ = 510,000 บาท
หัก ค่าใช้จ่ายส่วนที่ 2 50% ของส่วนที่เหลือ = 255,000 บาท
รวมค่าใช้จ่ายทั้งสองส่วน = 395,000 บาท
เงินได้หลังหักค่าใช้จ่าย(เพราะลาออกจากงาน) = 255,000 บาท
รวมเงินได้หลังหักค่าใช้จ่ายของนายชัยยุทธ์ (302,500+255,000) = 557,500 บาท (2)
**ดังนั้นเงินได้นอกจากเงินเดือนและค่าจ้างของภรรยาจะต้องนำมารวมกับของสามี
เงินได้หลังหักค่าใช้จ่ายของ นายชัยยุทธ์ จะเท่ากับ (1)+(2) = 572,500 บาท
เงินได้หลังหักค่าใช้จ่ายของ นางนุชนาท = 110,000 บาท

ผู้ติดตาม