วันจันทร์ที่ 31 พฤษภาคม พ.ศ. 2553

วันพฤหัสบดีที่ 20 พฤษภาคม พ.ศ. 2553

กฎหมายทรัพย์สินทางปัญญา

           ทรัพย์สินทางปัญญา หมายถึง ผลงานอันเกิดจากความคิดสร้างสรรค์ของมนุษย์
ทรัพย์สินทางปัญญา ได้แก่ กรณีที่กฎหมายคุ้มครองสิทธิในการสร้างสรรค์การประดิษฐ์หรือการคิดค้นสิ่งใหม่ๆ มีด้วยกัน 3 ประเภท คือ
1. ลิขสิทธิ์
2. สิทธิบัตร
3. เครื่องหมายการค้า

ลิขสิทธิ์
    ลิขสิทธิ์ หมายความว่า สิทธิแต่ผู้เดียวที่จะกระทำการใดๆเกี่ยวกับงาน ที่ผู้สร้างสรรค์ได้ทำขึ้น
    กฎหมายลิขสิทธิ์มุ่งคุ้มครองงานที่บุคคลได้สร้างสรรค์ขึ้นด้วยตัวเอง ไม่ให้ใครลอก หรือเลียนแบบ เอาไว้ใช้ประโยชน์เพื่อให้ ผู้สร้างสรรค์
   งานที่ได้รับการคุ้มครอง
    1. งานวรรณกรรม
    2. งานนาฏกรรม
    3. งานศิลปกรรม
    4. งานดนตรีกรรม
    5. งานโสตทัศนวัสดุ งานภาพยนตร์ งานแพร่เสียงแพร่ภาพ
    6. งานสิ่งบันทึกเสียง
    7. งานนักแสดง

ผู้มีลิขสิทธิ์
   1. ผู้รับโอนลิขสิทธิ์
   2. ผู้ว่าจ้างในสัญญาจ้างทำของ
   3. ลูกจ้างในสัญญจ้างแรงงาน
   4. กระทรวง ทบวง กรม หรือหน่วยงานอื่นใดของรัฐหรือของท้องถิ่น

การคุ้มครองสิทธิ์
   งานสร้างสรรค์ใดมีลิขสิทธิ์ตามพระราชบัญญัติลิขสิทธิ์ ผู้สร้างสรรค์หรือผู้มีลิขสิทธิ์นั้นย่อมมีสิทธิ์แต่ผู้เดียวในการ
    1. ทำซ้ำหรือดัดแปลง
    2. เผยแพราต่อสาธารณชน
    3. ให้เช่าต้นฉบับ หรือสำเนางานโปรแกรมคอมฯ โสตทัศน์วัสดุ ภาพยนต์และสิ่งบันทึกเสียง
    4. ให้ประโยชน์อันเกิดจากลิขสิทธิ์แก่ผู้อื่น
    5. อนุญาตให้ผู้อื่นใช้สิทธิตาม 1 หรือ 2 หรือ 3 โดยกำหนดเงื่นไขอย่างหนึ่งอย่างใดด้วยหรือไม่ก็ได้

การละเมิดสิทธิ์
     ในเรื่องการคุ้มครองลิขสิทธ์ กฎหมายอนุญาตให้ผู้มีลิขสิทธิ์แต่เพียงผู้เดียวมีสิทธิ ที่จะทำซ้ำ ดัดแปลงหรือเผยแพร่ต่อสาธารณชน เพราะฉนั้นหากบุคคลใดที่ไม่มีลิขสิทธิ์และไม่ได้รับอนุญาตการทำการดังกล่าว ให้ถือว่าการกระทำนั้นเป็นการละเมิดลิขสิทธิ์

ข้อยกเว้นของการละเมิดลิขสิทธิ์
1. งานอันไม่อาจมีลิขสิทธิ์
    - ข่าวประจำวันและข้อเท็จจริงต่างๆ
    - รัฐธรรมนูญ กฎหมาย
    - ระเบียบ ข้อบังคับ ประกาศ คำสั่ง คำชี้แจง และหนังสือตอบโต้ของกระทรวง ทบวง กรม หรือหน่วยงานอื่นใดของรัฐหรือของท้องถิ่น
    - คำพิพากษา คำสั่ง คำวินิจฉัย และรายงานทางราชการ
    - คำแปล การรวบรวมสิ่งต่างๆ ตามที่กล่าวมาแล้วข้างต้น
2. การกระทำที่ถือว่าเป็นข้อยกเว้นของการละเมิดลิสิทธิ์
    - การกระทำเพื่อประโยชน์ทางการศึกษามิใช่หากำไร
    - การกระทำเพื่อใช้งานส่วนตัว
    - การกระทำซ้ำเพื่อประโยชน์ของราชการ
    - การกระทำโดยรับรู้ความเป็นเจ้าของลิขสิทธิ์ของผู้อื่น

สิทธิบัตร
      สิทธิบัตร หมายความว่า หนังสือสำคัญที่ออกให้เพื่อคุ้มครองการประดิษฐ์หรือออกแบบผลิตภัณฑ์ตามกฎหมายกำหนด

สิทธิบัตรการประดิษฐ์
    การประดิษฐ์ หมายความว่า การคิดค้นหรือการคิดทำขึ้น อันเป็นผลได้มาซึ่งผลิตภัณฑ์ หรือกรรมวิธีใหม่ หรือการกระทำใดๆที่ทำให้ดีขึ้น ซึ่งผลิตภัณฑ์และกรรมวิธี
     การประดิษฐ์ที่จะได้รับการคุ้มครองตามกฎหมาย
     1. การประดิษฐ์คิดค้นขึ้นใหม่
     2. การประดิษฐ์ที่มีขั้นตอนการประดิษฐ์สูงขึ้น
     3. การประดิษบ์ที่สามารถประยุกต์ใช้ในทางอุตสาหกรรม

การประดิษฐ์ที่ขอรับสิทธิบัตรไม่ได้
     1. อาหาร เครื่องดื่มหรือยา หรือสิ่งผสมของยา
     2. เครื่องจักรที่ใช้ในเกษตรกรรมโดยตรง
     3.  สัตว์ พืช หรือกรรมวิธีทางชีววิทยาในการผลิตสัตว์และพืชขึ้น
     4. กฎเกณฑ์และทฤษฎีทางวิทยาศาสตร์และคณิตศาสตร์
     5. ระบบข้อมูลสำหรับการทำงานของเครื่องคอมพิวเตอร์
     6. การประดิษฐ์ที่ขัดต่อความสงบเรียบร้อยศีลธรรมอันดี อนามัย สวัสดิภาพของประชาชน
     7. การประดิษฐ์ที่กำหนดโดยพระราชกฤษฎีกา

ผู้ทรงสิทธิบัตรการประดิษฐ์
     ผู้ทรงสิทธิบัตรการประดิษฐ์ ได้แก่ผู้ได้รับการจดชื่อลงในทะเบียนสิทธิบัตรในขณะที่ออกกสิทธิบัตร หรืออาจกล่าวได้ว่าเป็นผู้ได้รับสิทธิหรือเจ้าของสิทธิบัตรนั้น ได้แก่
     1. ผู้ประดิษฐ์
     2. ผู้รับโอนสิทธิบัตร
     3. นายจ้างของผู้ประดิษฐ์
     4. ส่วนราชการหรือรัฐวิสาหกิจ

การละเมิดสิทธิบัตรการประดิษฐ์
     ผู้รงสิทธิบัตรตามกฎหมายเท่านั้นที่เป็นผู้มีสิทธิใช้หรือแสวงหาประโยชน์จากการประดิษฐ์นั้น คือ
    1. ผลิต ผลิตภัณฑ์ตามสิทธิบัตร
    2. ใช้กรมวิธีตามสิทธิบัตร และ
    3. ขายหรือมีไว้เพื่อขายผลิตภณฑ์ที่ผลิตหรือใช้กรรมวิธีตามสิทธิบัตร
       หากผู้กระทำการดังกล่าวไม่ใช่ผู้ทรงสิทธิย่อมเป็นการละเมิดสิทธิบัตรมีโทษอาญาตามกฎหมาย และอาจถูกเรียกร้องค่าเสียหายได้

เครื่องหมายการค้า
       เครื่องหมายการค้า หมานความว่า เครื่องหมายที่ใช้หรือจะใช้เป็นที่หมายหรือเกี่ยวข้องกับสินค้า เพื่อแสดงว่าสินค้าที่ใช้เครื่องหมายของเจ้าของเครื่องหมายนั้นแตกต่างกับสินค้าที่ใช้เครื่องหมายการค้าของบุคคลอื่น
       เครื่องหมายการค้าต้องมีลักษณะ
    - ต้องเป็นเครื่องหมาย
    - ต้องใช้หรือจะใช้เป็นที่หมายหรือเกี่ยวข้องกับสินค้า
    - เพื่อแสดงว่าสินค้านั้นๆแตกต่างกับสินค้าที่ใช้เครื่องหมายการค้าของผู้อื่น

เครื่องหมายการค้าที่จดทะเบียนได้
       ต้องมีลักษณะตามที่กฎหมายกำหนดไว้ดังนี้
    1. เครื่องหมายการค้านั้นต้องมีลักษณะบ่งเฉพาะ
        ลักษณะบ่งเฉพาะอันเป็นสาระสำคัญที่จะต้องมีในเครื่องหมายการค้านี้
        - ชื่อตัว ชื่อสกุลของบุคคลธรรมดาที่ไม่เป็นชื่อสกุล
        - คำหรือข้อความ อันไม่ได้เห็นถึงลักษณะ  หรือคุณสมบัตรของสินค้านั้นโดยตรง
        - ตัวหนังสือ ตัวเลข หรือคำที่ประดิษฐ์ขึ้น
        - ลายมือชื่อของผู้จดทะเบียน
        -ภาพของผู้ขอจดทะเบียน
        - ภาพที่ประดิษฐ์ขึ้น
    2. เครื่องหมายการค้านั้นจะต้องไม่มีลักษณะต้องห้ามตามกฎหมาย
        - ตราแผ่นดิน เครืองหมายราชการ ธงพระอิสยศ ธงราชการ หรือธงชาติของประเทศไทย
        - เครื่องหมายประจำชาติหรือธงชาติของรัฐต่างประเทศ
        - พระปรมาภิไธย พระนามาภิไธย พระปรมาภิไธยย่อ หรือพระนามาภิไธยย่อ
        - พระบรมฉายาลักษณ์ หรือพระบรมสาทิสลักษณ์ของพระมหากษัตริย์ พระราชินี หรือรัชทายาท
        - พระราชลัญจกร
        - เครื่องหมายกาชาด นามกาชาด หรือกาเจนีวา
        - เครื่องหมายที่เหมือนหรือคล้ายกับเหรียญ ใบสำคัญ หรือหนังสือรัรอง ฯลฯ
        - เครื่องหมายที่ขัดต่อความสงบเรียบร้อย ศีลธรรมอันดีของประชาชน หรือรัฐประกาศนโยบาย
        - เครื่องหมายที่เหมือนกับเครื่องหมายที่มีชื่อเสียงแพร่หลายทั่วไป หรือคล้ายกับเครื่องหมายดังกล่าวจนอาจทำให้สาธารณชนสับสนหลงผิดในความเป็นเจ้าของ หรือแหล่งกำเนิดของสินค้า
        -  เครื่องหมายอื่นที่รัฐมนตรีประกาศกำหนด
    3. เครื่องหมายการค้านั้นต้องไม่เหมือน หรือคล้ายกับเครื่องหมายการค้าของผู้อื่นที่ได้จดทะเบียนไว้แล้ว

ผู้ติดตาม